วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันน้ำโลก

วันน้ำโลกและวันอนุรักษ์โลก

วันน้ำของโลกและวันอนุรักษ์โลก... 22 มีนาคม

 









จากการที่น้ำจืดของโลกขาดแคลนมากขึ้น ในปี พ.ศ.2535 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันน้ำของโลก” หรือ “World Day for Water” โดยเริ่มต้นในปี 2536 เป็นปีแรก และชักชวนให้ประเทศต่างรับเป็นวันสิ่งแวดล้อมของชาติ เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ ช่วยกันดูแล บำรุงรักษา การพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี 2535 ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า Agenda 21





















วัตถุประสงค์ของการจัดงาน



1. เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค

2. เพื่อเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์น้ำในรูปแบบต่างๆ

3. เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลของแต่ละประเทศและหน่วยงานเอกชนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์น้ำให้มากขึ้น





นโยบายการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน



องค์การสหประชาชาติยังได้กำหนดนโยบายการจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน 5 ประการ ได้แก่

1. การจัดการให้พื้นที่ที่มีความต้องการใช้น้ำมากที่แตกต่างกันได้มีโอกาสใช้น้ำอย่างเท่าเทียมกัน

2. การอนุรักษ์แหล่งน้ำ โดยพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อแหล่งน้ำ

3. การควบคุมดูแลการใช้น้ำจากแหล่งต้นน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณการใช้น้ำของแหล่งปลายน้ำ

4. การจัดการกับปัจจัยอื่นๆ โดยดูแลปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำ

5. การจัดการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเหมาะสม



















หน่วยงานของสหประชาชาติ 2 แห่ง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องน้ำโดยตรง คือ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก้) กับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสเคป) ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำทั่วโลก ซึ่งน่าสนใจและมีหลายเรื่องที่คนทั่วยังไม่รู้และนึกไม่ถึง กล่าวคือ ยูเนสโกและเอสเคประบุว่า พื้นผิวโลก 2 ใน 3 ปกคลุมด้วยน้ำแต่เป็น " น้ำเค็ม " จากทะเลและมหาสมุทรทั้งหมด ส่วน " น้ำจืด " ซึ่งจำเป็นต่อการยังชีพของมนุษย์นั้น ครอบคลุมเพียงร้อยละ 1 ของผิวโลกเท่านั้น แต่ " แหล่งน้ำจืด " ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือ,ใต้และธารน้ำแข็ง หรือซึมอยู่ใต้ผิวดินลึก จนมนุษย์ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ส่วนแหล่งน้ำจืดที่ใช้ได้จริงๆมีเพียงร้อยละ 0.25 เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่หาได้จากแม่น้ำ ทะเลสาบ และแหล่งน้ำใต้ดิน แหล่งน้ำจืดเพียงน้อยนิดนี้เองที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงชีวิตพลโลกกว่า 6,000ล้านคน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่เพียงพอ ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำของมนุษย์กลับมีมากขึ้นทุกวัน และมีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างฟุ่มเฟือย ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของน้ำจืด จนตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายอย่างยิ่ง



ตัวอย่างพฤติกรรมการใช้น้ำของมนุษย์ ได้แก่ ในแต่ละวันมนุษย์ต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 2-5 ลิตร ใช้ชักโครกโถส้วม 5-15 ลิตร ใช้อาบน้ำ 50-200 ลิตรขณะที่ใช้น้ำเพื่อการชลประทานและการเกษตร ราวร้อยละ 70 ของน้ำทั้งหมด แต่ครึ่งหนึ่งต้องสูญเปล่าเพราะซึมลงไปในดินหรือไม่ก็ระเหยขึ้นสู่อากาศหมด การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่รับผิดชอบทำให้การไหลเวียนของแม่น้ำหยุดชะงักลง ระดับน้ำในแม่น้ำและน้ำใต้ดินลดลงอย่างต่อเนื่อง สภาพปนเปื้อนพิษจากมลพิษต่างๆทำให้คุณภาพน้ำลดลง จำนวนน้ำสะอาดก็ลดลงเช่นกัน นอกจากนี้การขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรโลก มีส่วนทำให้จำนวนน้ำจืดสำหรับใช้ในรายบุคคลลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ที่น่าเป็นห่วงคือ น้ำที่ปนเปื้อนมลพิษและขาดสุขลักษณะ เป็นสาเหตุทำให้เด็กทารก ในเอเชียและแปซิฟิกเสียชีวิตกว่าปีละ 5 แสนคน



นอกจากนี้สถิติของสหประชาชาติเมื่อสิ้นปี 2542 พบว่ามีประชากรโลกราว 2,400 ล้านคน ไม่ได้รับความสะดวกสบายจากระบบสุขอนามัยเกี่ยวกับน้ำ หน่วยงานของสหประชาชาติได้เสนอแนะทางออกในปัญหานี้หลายข้อ อาทิ การอนุรักษ์น้ำ , การบำบัดน้ำเสีย , การปรับเปลี่ยนหมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ , การจัดการเรื่องน้ำและดินให้เหมาะสม , การทำวิจัยแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ , ออกกฎหมายการใช้น้ำที่ทันสมัย , การจัดสรรน้ำอย่างเสมอภาค และการปลุกจิตสำนึกในหมู่ประชาชนให้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของน้ำ ยิ่งกว่านั้น การแก้ปัญหาเรื่องน้ำยังต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ตัวเราเอง องค์กรต่างๆ อาสาสมัครในชุมชนต่างๆ ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐบาล อีกทั้งประเทศต่างๆ ทั่วโลก











ในการประชุมระดับโลกทุกครั้งที่ผ่านมา สถาบันการจัดการน้ำ ระหว่างประเทศหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่มีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการประชุมดังกล่าว อาทิเช่น World Water Council (WWC), Clobal Water Partnership (GWP) และธนาคารโลก ต่างใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอทิศทางหรือการจัดทรัพยากรน้ำและการแบ่งปันผลประโยชน์ (Water Resources Management and Benefit Sharing) โดยมีประเด็นใจกลาง 4 ประเด็น ได้แก่ หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน (Public Private Partnership), เขื่อนกับการพัฒนา (Dam and Development Partnership), ค่าคืนทุน (Cost Recovery), การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (Integrated Water Resources Management) ซึ่งสรุปในแต่ละประเด็นได้ดังนี้ การแปรรูปกิจการประปาหรือระบบชลประทานของรัฐ (Privatization) ภายใต้แนวทาง ที่เรียกว่า Public Private Partnership (PPP) ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกผลักดันจากการประชุมระดับนานาชาติมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น การประชุมเรื่องน้ำจืดโลกที่กรุงบอร์น เดือนธันวาคม 2544 หรือ การประชุมที่โจฮันเนสเบิร์ก แนวทางเช่นนี้ถูกใช้เพื่อรองรับความชอบธรรมให้บริษัทข้ามชาติด้านกิจการน้ำประปาเข้ามา ลงทุนหรือรับสัมปทานในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในหลายประเทศได้เกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมสูงมาก เช่น ประเทศโบลิเวีย แนวความคิดในเรื่องการคิดค่าคืนทุนระบบชลประทานหรือระบบการลงทุนด้านการจัดหาน้ำเพื่อเป็นหลักประกันให้กับบริษัทที่มาลงทุนในแต่ละประเทศ และการส่งเสริมระบบการค้าเสรีของโลก การส่งเสริมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในรูปแบบของเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และเพื่อการบรรเทาน้ำท่วม ซึ่งผลักดันโดย UNDP ได้จัดทำโครงการ Dam and Development Partnership และ World Commission on Dam (WCD) การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ หรือ Integrated Water Resources Management (IWMI) โดยมีแนวทางให้เกิดองค์กรระดับลุ่มน้ำ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด (โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ)























คำขวัญวันน้ำของโลก

ปี 2537 : " การดูแลน้ำของเราเป็นหน้าที่ของทุก ๆ คน" ( Caring of our water is everyone business )

ปี 2538 : " สตรีและน้ำ " ( Woman and Water )

ปี 2539 : " น้ำสำหรับเมืองที่กระหาย" ( Water for Thirsty Cities )

ปี 2540 : " น้ำของโลก-มีพอไหม" ( The World's Water ; Is There Enough? )

ปี 2541 : " น้ำในดิน-ทรัพยากรที่มองไม่เห็น" ( Groundwater-the Invisible Resource )

ปี 2542 : " ชีวิตมนุษย์ขึ้นอยู่กับกระแสน้ำ"( Everyone Lives Downstream )

ปี 2543 : " น้ำสำหรับศตวรรษที่ 21" ( Water for the 21st Century )

ปี 2544 : " น้ำและสุขภาพ" ( Water and Health )

ปี 2545 : " น้ำสำหรับการพัฒนา" ( Water for Development )

ปี 2546 : " น้ำสำหรับอนาคต" (Water for the Future)

ปี 2547 : " น้ำและหายนะ" (Water and Disasters)

ปี 2548 : " น้ำเพื่อชีวิต" (Water for Life)

ปี 2549 : " น้ำและวัฒนธรรม" (Water and Culture )

ปี 2550 : " การจัดการกับการขาดแคลนน้ำ" (Coping with Water Scarcity)



เมื่อเราตระหนักแล้วว่า "น้ำ" มีความสำคัญเช่นนี้แล้ว เราทุกคนต้องช่วยกันใช้ทรัพยากรน้ำอย่างเหมาะสม ประหยัด เพื่อเราทุกคนจะได้มีน้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอตลอดไป

http://www.vcharkarn.com/varticle/38455

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

Extreme Super Moon on 03-19-2011

http://news.mthai.com/headline-news/107319.html



ชมปรากฏการณ์ ซุปเปอร์มูน (super moon )พระจันทร์เต็มดวง ใกล้โลก

Mthai news: คืน วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม ทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับปรากฏการณ์ “ซูเปอร์มูน” (Supermoon)ดวงจันทร์ใกล้โลก ที่มีระยะใกล้มากที่สุดในรอบ 18 ปี รวมทั้งประเทศไทยที่จะเห็นดวงจันทร์มีขนาดใหญ่และให้แสงสว่างมากที่สุด

ใน วันนี้ ดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลกในระยะ 356,577 กิโลเมตร อีกทั้งยังตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์เต็มดวงพอดี ซึ่งมนุษย์จะเห็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ สว่างขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าคุ้มค่าที่จะได้เห็นขนาดของดวงจันทร์เต็มดวง ในรอบ18ปี

หากสังเกต จะเห็น สีเทาเข้มปรากฎบนดวงจันทร์เป็นรูป คล้ายกระต่าย   บริเวณนี้เป็นจุดที่ยานอพอลโล 11 ลงเหยียบดวงจันทร์ ส่วนสีขาวสว่างไสวของดวงจันทร์ เป็นพื้นที่ราบสูง สะท้อนแสงจากพระอาทิตย์กลับมายังโลกได้มากกว่า
รายงานระบุว่า วงโคจรที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุดเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า “เปริจี” (the perigee) ซึ่งการที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกและโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ทิศทางของแรงกระทำต่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ในวันที่ 19 มีนาคม น้ำทะเลจะขึ้นสูงมากกว่าปกติ แต่นักวิทยาศาสตร์ต่างยืนยันแล้วว่าไม่ส่งผลต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติแต่อย่างใด ไม่ควรวิตกกังวล



ปรากฏการณ์ Super Moon
http://www.varietypc.net/webboard/index.php?topic=3799

ปรากฎการณ์ Super Moon คือปรากฎการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด และอาจเกิดผลกระทบต่อโลกได้ โดยมีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษา ในเรื่องการโคจรของดวงจันทร์ ระบุว่าในวันที่ 19 มีนาคม 2011 นี้ จะเกิดเหตุการณ์ดวงจันทร์โคจรเข้าใกล้โลก หรือที่เรียกว่า “lunar perigee” โดยมีระยะห่างเพียง 221,567 ไมล์ ซึ่งทางองค์การนาซ่า ได้แจ้งว่าระยะทางห่างโดยปกติของดวงจันทร์กับโลกจะอยู่ที่ประมาณ 356,577 กิโลเมตร และเนื่องจากดวงจันทร์มีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากันในแต่ละคืน เพราะไม่ได้โคจรรอบโลกเป็นวงกลม ทำให้แต่ละเดือน จะมีช่วงที่ดวงจันทร์โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด หรือที่เรียกว่า Perigee ซึ่งโดยปกติแล้วจะอยู่ใกล้โลกมากที่สุดในระยะห่างประมาณ 363,104 กิโลเมตร และช่วงที่ดวงจันทร์โคจรห่างโลกมากที่สุด หรือ Apogee อยู่ที่ระยะห่างประมาณ 405,696 กิโลเมตร แต่ช่วงเวลาที่มันโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด และยังเป็นดวงจันทร์เต็มดวงด้วย จะมีให้เห็น 2-3 ปีต่อ 1 ครั้งเท่านั้น แต่ในปีนี้ ดวงจันทร์จะอยู่ในจุดที่ใกล้กว่าทุกๆครั้ง ในรอบ 19 ปีที่ผ่านมา

ดัง นั้น ซูเปอร์มูนที่กำลังจะเกิดขึ้นในคืนวันที่ 19 มีนาคมนี้ จึงเป็นปรากฎการณ์ที่น่าจับตาดูมากเลยทีเดียว เพราะเราคงได้เห็นดวงจันทร์แบบใกล้ๆว่าสวยงามเพียงใด

ทั้ง นี้โดยเชื่อกันว่าเมื่อดวงจันทร์โคจรเข้าใกล้โลกในระยะที่ใกล้ผิดปกติ แรงดึงดูดของดวงจันทร์ อาจจะส่งผลให้เกิดความหายนะบางอย่างขึ้นบนโลกได้ และอาจจะเกิดผลกระทบกับโลกในด้านภัยพิบัติต่างๆ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว และการปะทุของภูเขาไฟ ซึ่งมีผลต่อระดับน้ำในทะเลที่อาจจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิได้ เนื่องจากชั้นบรรยากาศของโลกได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป โดยเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ซุปเปอร์มูน (super moon) ซึ่งการเกิดปรากฎการณ์ Super Moon นี้ จะเกิดขึ้นในวันที่ 19-20 มีนาคม 2554 ซึ่งเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงพอดี โดยที่เราจะมองเห็นพระจันทร์ดวงใหญ่ขึ้นกว่าเดิมถึง 14% และจะสว่างกว่าคืนพระจันทร์เต็มดวงปกติถึง 30%

นอก จากนี้ ดวงจันทร์ยังอาจส่งผลให้โลกเกิดน้ำขึ้นน้ำลงมากกว่าปกติก็เป็นได้ ซึ่งโดยปกติดวงจันทร์ก็มีอิทธิพลต่อน้ำขึ้นน้ำลงอยู่แล้ว แต่จากเหตุการณ์ Super Moon นี้อาจมีผลมากกว่าที่เคยเป็นก็ได้ กล่าวคือ ระยะเวลาที่น้ำขึ้นก็ขึ้นสูงมาก ขณะที่เมื่อน้ำลง น้ำก็จะลดลงมากกว่าปกติเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี นายเดวิด ฮาร์แลนด์ นักประวัติศาสตร์อวกาศ ได้ออกมาเปิดเผยว่า ดวงจันทร์คงไม่ได้มีอิทธิพลถึงขั้นที่จะทำให้โลกเกิดภัยพิบัติได้ขนาดนั้น มันอาจจะส่งผลกระทบเพียงแค่ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงมากกว่าที่เคยเป็นเท่านั้น จะไม่มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดแต่อย่างใด แต่หากเกิดภัยพิบัติใดๆ เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ก็คงเป็นความบังเอิญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เกิดซูเปอร์มูนเท่านั้น ไม่ได้มาจากอิทธิพลของดวงจันทร์อย่างแน่นอน
โดยก่อนหน้านี้ปรากฏการณ์ Super Moon ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในอดีต โดยเกิดในปี 1955, 1974, 1992, และ 2005 และทุกครั้งที่มันเกิด จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศบนโลก เช่น การเกิดสึนามิ ที่คร่าชีวิตผู้คนไปถึงหลายแสนคนในประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศไทย เพียงสองสัปดาห์ก่อนเกิดซุปเปอร์มูนในเดือน มกราคมปี 2005 และในปีดังกล่าวก็มีภัยพิบัติ และสภาพอากาศที่เลวร้ายเกิดขึ้นบนโลกในช่วงที่เกิดปรากฎการณ์ซูเปอร์มูนพอดี

และจากรายงานภัยพิบัติระบุว่า
ในปี ค.ศ.1938 พายุเฮอริเคนได้เกิดขึ้นพร้อมๆกับซูเปอร์มูน
ในปี ค.ศ.1955 ได้เกิดน้ำท่วมในฮันเตอร์วัลเลย์ ในออสเตรเลียในช่วงซูเปอร์มูนเช่นกัน
และในปี ค.ศ.1974 ซูเปอร์มูนก็เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับพายุไซโคลนเทรซี่ ที่สร้างความเสียหายมหาศาลในเมืองดาร์วิน ออสเตรเลีย
ส่วนในปี ค.ศ.2005 ก่อนที่จะเกิดปรากฎการณ์ซูเปอร์มูนเพียงไม่กี่วันก็มีเหตุการณ์สึนามิเกิด ขึ้นในอินโดนีเซียคร่าชีวิตผู้คนหลายหมื่นคนไปในช่วงเวลานั้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าว ทำให้หลายคนเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่การเกิดซูเปอร์มูนนี้จะมาพร้อมกับภัยพิบัติบางอย่างเช่น กัน
ในปี ค.ศ. 2011  22 ก.พ.เกิดแผ่นดินไหวในเมืองไครซท์เชิร์ช นิวซีแลนด์
11 มี.ค. แผ่นดินไหว ที่ญี่ปุ่น ตามมาด้วย สึนามิ การรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

 

แผ่นดินไหว สึนามิ นิวเคลียร์ บทเรียนจากญี่ปุ่น

  

วิบัติภัยที่เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ ประกอบด้วยพิบัติภัยร้ายแรง 3 อย่าง ในเวลาไล่เลี่ยกัน
1) แผ่นดินไหว
ครั้งนี้ ระดับความรุนแรง เกือบจะสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เคยมีจารึกกันไว้
แถมยังมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้ง
ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ประกาศว่า ความรุนแรงของเหตุแผ่นดินไหว เมื่อช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา ในทางชายฝั่งตะวันออกของเกาะฮอนชู สูงถึง 9.0 ริกเตอร์ (จากเดิมที่เคยประกาศว่า 8.9 ริกเตอร์)
เกิดความเสียหายต่ออาคาร บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ถนน ทางรถไฟ และชีวิตของผู้คนอย่างทันที

2) คลื่นสึนามิ
หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ได้ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิ สูง 10 เมตร ซัดเข้าถล่มชายฝั่งทะเลหลายจังหวัด
อาคาร บ้านเรือน สนามบิน ท่าเรือ โครงข่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งหลาย ที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล ถูกคลื่นถล่มราบเป็นหน้ากลอง เกิดความเสียหายต่อชีวิตประชาชนและทรัพย์สินมูลค่ามหาศาล
3) นิวเคลียร์
หลังเหตุแผ่นดินไหวเพียง 1 วัน ปรากฏว่า เกิดเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไดอิจิในจังหวัดฟุกุชิมะ (ห่างจากกรุงโตเกียว 240 กม.)

 

www.watchdog.co.th/2011/แผ่นดินไหว-สึนามิ-นิวเคล/